วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ที่มาเเละประโยชน์ของกระปิ!


กะปิ คิดขึ้นโดยชาวประมง ที่ต้องการจะดองกุ้งที่จับมาได้เพื่อเอาไว้รับประทานได้ในระยะเวลานานๆ หรือ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าเนื่องจากไม่สามารถขายกุ้งได้หมด จึงทำการดองเอาไว้ ไม่ว่าข้อสันนิษฐานจะเป็นอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงคือ กะปิเป็นตำรับอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปัจจุบัน กะปิกลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่างๆ จากการผลิตกะปิขาย


นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิจัยพบประโยชน์ของกะปิ ช่วยชะลอการสึกกร่อนของเคลือบฟัน พร้อมกับเตือนว่าอย่าเพิ่งแปรงฟันหลังกินของ เปรี้ยวทันที เสี่ยงฟันสึกกร่อนเร็ว

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพจนรรถ เบญจกุล ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์พบว่า คนภาคใต้จะมีฟันสึกกร่อนมากเมื่อเทียบกับในภาคอื่น เพราะการทานอาหารที่นิยมรสเปรี้ยว จึงได้นำแกงส้ม ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคใต้มาทดสอบ ปรากฏว่าแม้แกงส้มจะมีรสเปรี้ยวจัด แต่เมื่อผ่านการปรุงด้วยความร้อนสูง จะกัดกร่อนฟันให้สึกน้อยลง

จึงมีความเป็นได้ว่า วัตถุดิบในการปรุงอาจจะมีส่วน เลยนำเอากะปิมาทดสอบ ได้พบว่า กะปิเมื่อได้รับความร้อนสูง จะเกิดปฏิกิริยาของสารแคลเซียมในกะปิ ช่วยชะลอการสึกกร่อนของเคลือบฟัน "กะปิจะปล่อยสารแคลเซียมเมื่อได้รับความร้อน"

ผู้วิจัยยังได้แนะนำ ผู้ชอบอาหารรสเปรี้ยวว่า ถ้าแปรงฟันทันทีหลังกินเสร็จ จะเร่งให้เนื้อฟันยุ่ยเพราะการสัมผัสกับกรด ทำให้สารเคลือบฟันหลุดออกไปง่าย ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาฟลูออไรด์เสียก่อน รอให้เวลาผ่านไปอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ค่อยแปรงฟัน.

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ประโยขน์ของผักพื้นบ้าน


ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านสามร้อยกว่าชนิด ส่วนใหญ่ขึ้นเองตามที่รกร้างว่างเปล่าห้วยหนองคลองบึง และป่าเขา เด็กรุ่นใหม่แทบจะไม่รู้จักพืชผักพื้นบ้าน ที่บรรพบุรุษของไทยเรานำมารับประทานเป็นเวลาหลายช่วงอายุคนแล้ว

กระถิน
สรรพคุณด้านสมุนไพร แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ฝักและเปลือกเป็นยาฝาดสมาน เมล็ดเป็นยาถ่ายพยาธิได้ รากใช้ปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ ขับลม และขับระดูขาว
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอดและใบอ่อน ฝักและเมล็ดอ่อน ออกตลอดปี
การปรุงอาหารกินกับน้ำพริก ใช้เมล็ดอ่อนผสมในส้มตำหรือกินร่วมกับส้มตำ ชาวใต้ใช้เป็นเครื่องเคียง กินกับแกงที่รสจัด
==========================...=============================
กระเจี๊ยบแดง
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ รสเปรี้ยว แก้ไอ กัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำไส้ลงสู่ทวารหนัก กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงมีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำและเติมน้ำตาล ทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับของไขมันในเส้นเลือดได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ลูกอ่อน ยอดอ่อน กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยง
การปรุงอาหารลูกอ่อนรสจืดนำมาต้มกินกับน้ำพริก ยอดอ่อนใส่แกงส้ม(ใช้แทนส้มมะขาม)หรือต้มกินกับน้ำพริก กลีบดอกแก่ใช้ต้มทำน้ำกระเจี๊ยบและยังนำมาทำขนม เยลลี่ แยม หรือสารแต่งสีได้
==========================...=============================
กระเจี๊ยบมอญ
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใช้ผลแห้งป่นแช่น้ำ รักษาโรคกระเพาะอาหาร
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ผลอ่อน
การปรุงอาหารต้มจิ้มน้ำพริก แกงส้ม
==========================...=============================
กระเจียวแดง
สรรพคุณด้านสมุนไพร หัวอ่อน หน่อและดอก ช่วยขับลม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้หัวอ่อน หน่ออ่อน ดอกอ่อนและแก่
การปรุงอาหารทางภาคอีสานนิยมกินทั้งกระเจียวดอกแดงและกระเจียวดอกขาว หน่ออ่อนกินสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก ส่วนดอกอ่อน(ถ้าเป็นดอกแก่ จะดึงดอกที่แก่ทิ้งไป) นำมาลวกจิ้มน้ำพริกหรือแกง โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แกงร่วมกับผักหวาน หัวอ่อนนำมาต้มกับน้ำดื่ม
==========================...=============================
กระโดน
สรรพคุณด้านสมุนไพร กระโดนบก ใบมีรสฝาด ใช้ปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล เปลือกและผลใช้เป็นยาฝาดสมาน ดอกและจากเปลือกใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ เป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ผล ช่วยย่อยอาหาร
กระโดนน้ำเปลือก มีรสฝาด ใช้ชะล้างบาดแผล สมานแผลเรื้อรัง ใบ แก้ท้องร่วง รากเป็นยาระบาย ผลเป็นยาแก้หวัด เมล็ด เป็นยารสร้อน แก้ลม แน่น แก้อาการไอของเด็ก
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ และดอกอ่อน
การปรุงอาหารชาวอีสานนิยมกระโดนน้ำมากกว่า กินกับน้ำพริกหรือส้มตำ
==========================...=============================
กล้วยน้ำว้า
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยางจากใบใช้ห้ามเลือด ผลดิบมีรสฝาด รักษาท้องเสียและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หัวปลีแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้และโรคโลหิตจาง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้หยวกจากต้นที่ไม่ออกปลี หัวปลี ผลทั้งดิบและสุก
การปรุงอาหารหยวกกล้วยกินสดกับน้ำพริก หรือนำมาแกง หัวปลีกินกับน้ำพริกหรือเต้าเจี้ยวหลน กินกับผัดไทย นำมาทำทอดมัน หรือผัด ผลดิบนำมาแกงเผ็ดได้
==========================...=============================
กุ่ม
สรรพคุณด้านสมุนไพร กุ่มบกใบสดตำทารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง เปลือกต้นต้มกินแก้ลม แก้ปวดท้อง ดอก เป็นยาเจริญอาหาร แก้เจ็บคอ แก้ไข้ กุ่มน้ำ ใบ มีรสขม แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ เจริญอาหาร เปลือกต้น ต้มดื่มขับลมในลำไส้ ระงับพิษทางผิวหนัง ขับน้ำดี ขับนิ่ว
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและช่อดอกอ่อน
การปรุงอาหาร ดองจิ้มน้ำพริก
==========================...=============================
ขจร
สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก ผสมยาหยอดรักษาตา และมีสรรพคุณทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ดับพิษ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอดอ่อน ดอกทั้งตูมและบาน ลูกอ่อน
การปรุงอาหารสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก ผัดกับไข่ แกงจืด แกงส้ม
==========================...=============================
ขนุน
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผลอ่อน เป็นยาฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอด ใบและผลอ่อน
การปรุงอาหารใบอ่อนกินกับส้มตำ ลวกจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง ผลอ่อนปอกเปลือกแล้วฝานเป็นแว่น ต้มให้สุกกินกับน้ำพริก
==========================...=============================
ข่า
สรรพคุณด้านสมุนไพร เหง้าแก่ รสร้อน เผ็ดปร่า ขับลม แก้ฟกบวม แก้พิษ ขับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษากลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ เหง้าแก่ เหง้าอ่อน ต้นอ่อน ดอกตูม
การปรุงอาหาร เหง้าแก่ใช้ปรุงพริกแกง เหง้าแก่และอ่อนใส่ต้มยำและแกง ต้นและดอกอ่อน กินสดหรือลวกกินกับน้ำพริก
==========================...=============================
ขี้เหล็ก
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ดอกช่วยระบาย คลายเครียด ช่วยให้นอนหลับ แก้หืด ล้างศรีษะแก้รังแค
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง นำมาแกง ใส่มะแว้งต้นลงไปด้วยจะช่วยลดความขม
==========================...=============================
แค
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยอดและใบอ่อน ดอก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้หัวลม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอด ใบและฝักอ่อน ดอก
การปรุงอาหารลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม
==========================...=============================
ชะพลู
สรรพคุณด้านสมุนไพร ลูก ขับเสมหะ ใบ แก้ธาตุพิการ ปวดท้องจุกเสียด
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ใบ
การปรุงอาหารกินกับเมี่ยงคำ แกงกะทิ หรือนำมากินกับน้ำพริก(ได้ทั้งสดและลวก)
==========================...=============================
ชะอม
สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก แก้ท้องเฟ้อ ขับลม ยอดและใบอ่อน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอดและใบอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก ทอดกับไข่ แกง
==========================...=============================
ตำลึง
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ รสเย็น ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ ทั้งต้นแก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอดและใบอ่อน ผลอ่อน
การปรุงอาหาร ยอดและใบอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก ผัด แกง ผลอ่อนนำไปดอง
==========================...=============================
ตะลิงปลิง
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ แก้คัน รักษาอาการอักเสบ ดอก แก้ไอ ผล เจริญอาหารและลดไข้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ผลอ่อน
การปรุงอาหาร ผลอ่อนมีรสเปรี้ยวจัด นิยมใส่เป็นเครื่องปรุงรสในแกงคั่ว ต้ม ต้มยำ หรือหั่นฝอยเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่เป็นผักแกล้มกับอาหารได้
==========================...=============================
บอนน้ำ
ชาวบ้านทางเหนือมีวิธีสังเกตบอนหวานและบอนคัน ใบและต้นของบอนหวานจะมีสีเขียวสดหรือเขียวคล้ำ (เขียวออกน้ำตาล) ไม่มีนวล (นวลสีขาวที่เคลือบอยู่ตามก้านใบ) ส่วนใบของบอนคันจะมีสีเขียวนวลและมีนวลเกาะอยู่ตามก้านใบ และดอกของบอนหวานจะมีแมลงตอม แต่บอนคันไม่มี หรืออาจใช้วิธีทดสอบ โดยใช้มีสสะอาดตัดก้านบอนแล้วทิ้งไว้สัก 5 นาที ถ้าเป็นบอนคันจะปรากฏเป็นสีเขียวน้ำเงิน แต่ถ้าเป็นบอนหวานจะไม่ปรากฏสี หรืออาจตัดก้านใบแล้วทาหลังมือไว้สัก 2-3 นาที ถ้ามีอาการคันแสดงว่าเป็นบอนคัน ถ้าไม่มีอาการแสดงว่าเป็นบอนหวานจ๊ะ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร บอนหวานและบอนคันสามารถใช้เป็นอาหารได้ บอนหวานนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้ม หรือปรุงเป็นแกงส้ม อ่อนบอนได้ ส่วนบอนคัน มี calcium oxalate ทำให้คัน ใบแก่มีมากกว่าใบอ่อน ก่อนการปรุงเป็นอาหารจึงต้องต้มเคี่ยวและคั้นน้ำทิ้งก่อน 2-3 ครั้ง หรือใช้วิธีเผาก่อน แล้วจึงต้มน้ำและคั้นน้ำออกก่อน เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร มักใส่พืชที่มีรสเปรี้ยวลงไปด้วย เพื่อช่วยตัดพิษคันของบอน เช่น ส้มป่อย ยอดมะขาม น้ำมะกรูด เป็นต้น
==========================...=============================
บัวบก
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ รักษาแผล มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบัน เพื่อใช้ในการรักษาแผลสดหรือแผลหลังผ่าตัด นำมาเป็นเครื่องดื่ม ซึ่งคนจีนถือว่าเป็นยาแก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจายหายฟกช้ำได้ดี ช่วยลดการกระหายน้ำ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ใบและเถา
การปรุงอาหาร ชาวไทยทุกภาครับประทานใบและเถาบัวบกเป็นผักสด ใช้แกล้มกับอาหารได้หลายอย่าง เช่น น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ซุบหน่อไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงด้วยน้ำตาล เป็นเครื่องดื่ม
==========================...=============================
บัวสาย
สรรพคุณด้านสมุนไพร รสจืด ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ก้านดอก
การปรุงอาหาร ลอกผิวที่หุ้มสายออก นำมารับประทานเป็นผักสด หรือนำมาผัด แกง
==========================...=============================
ผักกะเฉด
สรรพคุณด้านสมุนไพร รสมันเย็น สรรพคุณดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ถอนพิษยาเบื่อเมา เหมาะในการรับประทานในหน้าร้อน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและลำต้นอ่อน
การปรุงอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือลวกเป็นผักจิ้ม ผัดไฟแดง ผัดน้ำมัน หรือแกงส้ม
==========================...=============================
ผักขม
สรรพคุณด้านสมุนไพรใบสดรักษาแผลพุพอง ต้นแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ รากช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ แก้คัน แก้เสมหะ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ยอดและใบอ่อน
การปรุงอาหารลวกเป็นผักจิ้ม หรือนำมาแกง
==========================...=============================
ผักชีฝรั่ง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ใบอ่อน
การปรุงอาหารใช้เป็นผักแกล้ม ใส่ยำ ลาบ ต้มยำ
==========================...=============================
ผักชีล้อม
สรรพคุณด้านสมุนไพร ทั้งต้นใช้รักษาอาการเหน็บชา ขับเหงื่อ น้ำเหลืองเสีย ผลช่วยขับลม แก้ธาตุพิการ แก้หอบหืด ไอ คลื่นไส้อาเจียน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร ใช้เป็นผักจิ้มหรือผักแกล้ม มีรสเผ็ดอมขมเล็กน้อย มีกลิ่นหอม
==========================...=============================
ผักตบชวา
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงส้ม
==========================...=============================
ผักตบไทย
สรรพคุณด้านสมุนไพร มีรสจืด ช่วยขับพิษร้อน ขับปัสสาวะ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ต้น ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร กินสด กับน้ำพริกหรือส้มตำ หรือนำไปปรุงเป็นแกงส้ม แกงเลียงหรือผัด
==========================...=============================
ผักบุ้งไทย
สรรพคุณด้านสมุนไพร รสจืด เย็น ช่วยขับพิษ ถอนพิษเบื่อเมา
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก กินกับส้มตำ ยำ ลาบ หรือนำไปผัด แกงส้ม แกงคั่ว
==========================...=============================
ผักปลัง
สรรพคุณด้านสมุนไพร ก้าน แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้ท้องผูก ลดไข้ ใบขับปัสสาวะ บรรเทาอาการผื่นคัน ผู้เฒ่าทางภาคเหนือแนะนำให้หญิงมีครรภ์รับประทานผักปลัง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม แกงแค
==========================...=============================
ผักแว่น
สรรพคุณด้านสมุนไพร มีรสมันจืด ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและเถาอ่อน
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ หรือนำไปต้ม แกง
==========================...=============================
ผักเสี้ยน
** ผักเสี้ยนสดมีสาร Hydrocyanide ซึ่งมีพิษต่อประสาทส่วนกลาง การนำมาใช้จึงต้องทำให้สุกหรือปรึกษาผู้มีความรู้**
สรรพคุณด้านสมุนไพร ต้นแก้โลหิตและระดูเน่าเสีย ฆ่าพยาธิไส้เดือน แก้แผลแมลงป่องต่อย ใบแก้ปวดเมื่อย พอกรักษาฝี เมล็ดขับปัสสาวะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร นำไปดองจิ้มน้ำพริก
==========================...=============================
ผักหวานบ้าน
สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก ระงับความร้อนถอนพิษไข้ซ้ำ ไข้กลับเนื่องจากรับประทานของแสลง ใบและยอดรสหวาน เย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและผลอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริกหรือนำมาแกงส้ม แกงเลียง แกงอ่อม
==========================...=============================
ผักหวานป่า
**การเก็บผักหวานป่าต้องเป็นผู้ที่เก็บเป็น เพราะมีพืชที่คล้ายผักหวานป่า เช่น ต้นขี้หนอน ต้นเสน เป็นพืชที่มีพิษ**
สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก รสเย็น ถอนพิษ แก้พิษร้อนกระสับกระส่าย น้ำดีพิการ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำมาแกง
==========================...=============================
ฟักข้าว
สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก รสเย็นและรสเบื่อเล็กน้อย ใช้ถอนพิษ ดับพิษไข้ทั้งปวง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและผลอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกหรือต้มให้สุก จิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกง
==========================...=============================
มะกอก
สรรพคุณด้านสมุนไพรผล เปลือก ใบ ยาง เนื้อผลมะกอกมีรสเปรี้ยว ฝาด หวาน สรรพคุณแก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้บิด ผลสุกรสเปรี้ยว เย็น หวาน ฝาด ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน ผลสุก
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดกับเต้าเจี้ยวหลน ผลสุกนำไปเป็นเครื่องปรุงรส โดยฝานเป็นชิ้นในส้มตำ
==========================...=============================
มะขาม
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยอด ใบและดอกอ่อน ฝักอ่อนและฝักแก่มีรสเปรี้ยวจัด แก้ท้องผูก แก้ไอ ขับเสมหะ ลดความร้อนในร่างกาย เมล็ดแก่รสมัน ช่วยขับพยาธิไส้เดือน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ดอก ฝักอ่อน และฝักแก่
การปรุงอาหาร ฝักอ่อนทำน้ำพริกส้มมะขาม ฝักแก่จะแกะเมล็ดออกและคลุกเกลือ(มะขามเปียก) เก็บไว้ใช้ได้ข้ามปี เมื่อจะนำมาใช้จะนำมาคั้นเป็นน้ำใส่แกงส้ม แกงเทโพและอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยว เช่น ก๋วยเตี๋ยวผัด ต้มยำ ใบอ่อนใช้แกงจืดหรือแกงกะทิ
==========================...=============================
มะเขือพวง
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผล แก้ไอ ขับเสมหะ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ผลอ่อน
การปรุงอาหาร ใช้กินสดหรือต้มจิ้มน้ำพริก ใส่อาหารได้หลายชนิด เช่น น้ำพริก แกง
==========================...=============================
มะดัน
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบมีรสเปรี้ยว ผลรสเปรี้ยวจัด แก้เสมหะ แก้กระษัย แก้ระดูเสีย บำรุงและขับฟอกโลหิต กัดเสมหะและระบายอ่อนๆ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน ผล
การปรุงอาหาร ยอดและใบอ่อน แกล้มกับอาหาร เช่น ยำ น้ำพริก โดยกินได้ทั้งแบบสดและทำให้สุก ผลมีรสเปรี้ยวจัด ใช้แทนมะนาวและมะขามเปียกได้
==========================...=============================
มะตูม
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ รสฝาด เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน ผลอ่อน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยขับผายลม ผลสุก รสหวาน แก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับผายลม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน ผลดิบ
การปรุงอาหาร ทางภาคเหนือและอีสานใช้ยอดอ่อนแกล้มลาบ ชาวใต้กินกับน้ำพริกและแกงรสจัด ชาวภาคกลางไม่นิยมกินยอดอ่อน แต่พบว่ามีการใช้มะตูมดิบมาปรุงเป็นยำมะตูม ผลอ่อนฝานตากแห้ง ใช้ต้มทำน้ำมะตูม มีผู้นิยมดื่มกันมาก
==========================...=============================
มะม่วง
สรรพคุณด้านสมุนไพร เมล็ดในมีรสฝาด แก้ท้องร่วง สมานลำไส้ รักษาบาดแผล กาฝากต้นมะม่วง ชาวชนบทนิยมนำมาต้มดื่มเป็นน้ำชา เชื่อว่าลดความดันโลหิตสูงได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและช่อดอกอ่อน ผล
การปรุงอาหาร ยอด ใบและช่อดอกอ่อนกินกับน้ำพริก ชาวเหนือนำใบอ่อนไปยำ ผลดิบใช้แทนมะนาวได้
==========================...=============================
มะม่วงหิมพานต์
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ เป็นยาสมานลำไส้ บรรเทาอาหารท้องร่วง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน ผลและเมล็ด
การปรุงอาหาร ชาวใต้และชาวอีสานนิยมใช้ยอดและใบอ่อนกินกับน้ำพริก แกงเผ็ดหรือขนมจีน เมล็ดทำให้สุก นำไปผัดหรือยำ หรือกินเป็นอาหารว่าง
==========================...=============================
มะยม
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยอด รสฝาด มัน กลิ่นหอม ช่วยดับพิษไข้ ราก แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน ผล
การปรุงอาหาร ยอดและใบอ่อนจิ้มน้ำพริก กินกับส้มตำ ชุบแป้งทอด แกงเลียง ผลแก่นำมาแกงคั่ว นอกจากนั้น ผลแก่ยังเป็นผลไม้ จิ้มพริกเกลือ ทำน้ำมะยม ไวน์ แยม มะยมดอง มะยมกวน
==========================...=============================
มะระขี้นก
สรรพคุณด้านสมุนไพร มีความเชื่อผิดๆ ว่ามะระขี้นกแก้โรคเอดส์ ความจริงมะระขี้นกเพียงแต่ช่วยให้อาการดีขึ้นเท่านั้น เพราะมะระขี้นกเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย นอกจากนั้น ยังแก้โรคลมเข้าข้อ หัวเข่าบวม บำรุงน้ำดี แก้โรคของม้าม โรคตับ ขับพยาธิในท้อง น้ำต้มใบมะระช่วยระบายอ่อนๆ น้ำคั้นผลมะระแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย เกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวาน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ามะระมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองและในคน สำหรับเมล็ดมะระมีผู้พบสารลดน้ำตาลเช่นกัน แต่การใช้เมล็ดมะระต้องระมัดระวังฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดการแท้งด้วย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและผลอ่อน
การปรุงอาหาร ทั้งยอด ใบและผลนำไปลวกจิ้มน้ำพริก ผลนำไปผัดกับไข่หรือนำไปแกงได้
==========================...=============================
มะรุม
สรรพคุณด้านสมุนไพร ดอกรสขม หวาน มันเล็กน้อย เป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ฝักรสหวาน แก้ไข้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ดอกและฝักอ่อน
การปรุงอาหาร ยอดและดอกอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก ดอกอ่อนนำไปดอง ฝักใช้แกงส้ม
==========================...=============================
มะละกอ
สรรพคุณด้านสมุนไพร รากรสขมเอียน ขับปัสสาวะ เมล็ดอ่อนแก้กลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน ผลดิบ
การปรุงอาหาร ยอดอ่อนนำมาดอง ผลต้มสุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปผัด ทำส้มตำ แกง
==========================...=============================
มะแว้งต้น
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผลรสขมอมเฝื่อน แก้ไอ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ผลอ่อน
การปรุงอาหาร กินกับน้ำพริกได้ทั้งแบบสดและแบบสุก
==========================...=============================
มะแว้งเครือ
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผลรสขมจัดอมเฝื่อนเล็กน้อย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ผลอ่อน
การปรุงอาหาร กินกับน้ำพริกได้ทั้งแบบสดและแบบสุก
==========================...=============================
มะอึก
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผลมีรสเปรี้ยว เย็ม อมรสขื่นเล็กน้อย แก้สดุ้งผวาดีฝ่อ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ผลอ่อนและแก่
การปรุงอาหาร ทั้งผลอ่อนและแก่กินสดกับน้ำพริก ผลสุกมีรสเปรี้ยวจัด นิยมนำมาใส่น้ำพริก โดยนำผลที่มีสีเหลืองมาขูดขนออกให้หมดเสียก่อน ล้างน้ำให้สะอาดและฝานเป็นแว่นบางๆ โขลกกับน้ำพริก ชาวอีสานและเหนือ นำไปแกงส้ม ส้มตำ ชาวใต้นิยมนำมะอึกมาใส่แกงหลายอย่างเช่นกัน
==========================...=============================
มันปู
สรรพคุณด้านสมุนไพร รากและลำต้นแก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร ชาวใต้ใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก แกงและขนมจีน
==========================...=============================
ยอ
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกปวดบวม ผล รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิตระดู ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียร ผลสุกมีกลิ่นฉุน ช่วยขับผายลมในลำไส้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ใบอ่อนและห่าม ผล
การปรุงอาหาร ใบอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก แกง รองก้นห่อหมก ผลห่ามหรือผลแก่จัดสีเขียว ชาวอีสานนำมาปรุงเป็นส้มตำ โดยใส่แทนมะละกอ
==========================...=============================
ย่านาง
สรรพคุณด้านสมุนไพร รากรสจืด แก้ไข้ทุกชนิด เช่น ไข้ผิดสำแดง ไข้พิษ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ เป็นยากระทุ้งพิษ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ เถาและใบ
การปรุงอาหาร ตำคั้นเอาน้ำไปต้มกับหน่อไม้ บางแห่งนำไปแกงกับขี้เหล็ก
==========================...=============================
เล็บครุฑ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดกับน้ำพริก ขนมจีน หรือนำไปชุบแป้งทอด ใส่ในทอดมัน แกงคั่ว
==========================...=============================
ส้มป่อย
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบมีรสเปรี้ยว ช่วยฟอกโลหิต ขับเสมหะ ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้บิด
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน
การปรุงอาหาร มีรสเปรี้ยว นำไปใส่ในแกงเช่นเดียวกับยอดมะขาม ช่วยปรุงรสอาหารและทำให้เจริญอาหาร
==========================...=============================
สะเดา
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยอดและดอกมีรสขมจัด ช่วยบรรเทาความร้อนและช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้ทุกชนิด บำรุงธาตุ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร นำมาเผาไฟหรือลวก กินกับน้ำพริก
ในระยะที่มียอดและดอกสะเดาออกมาก กินไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บไว้กินนานๆ โดยนำมาลวกแล้วตากแดด 2-3 แดด เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการบริโภคก็จะนำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้ง จะได้สะเดาที่มีรสดีเหมือนสะเดาสดทุกประการเลยจ๊ะ
==========================...=============================
สะตอ
สรรพคุณด้านสมุนไพร ชาวใต้เชื่อว่าเมล็ดสะตอช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและเมล็ดอ่อน
การปรุงอาหาร ยอดและเมล็ดนำมากินกับน้ำพริก เมล็ดนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้มหรือเผา ดอง ผัดหรือแกง
==========================...=============================
สมอไทย
สรรพคุณด้านสมุนไพร ผลมีรสฝาดอมเปรี้ยว ช่วยระบายท้อง บรรเทาอาการร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ แก้ลมจุกเสียด รักษาอาหารท้องเสีย แก้เจ็บคอและน้ำเหลืองเสีย ผลสมอไทยมีสรรพคุณเสมอกับผลมะขามป้อม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ผลแก่
การปรุงอาหาร ผลแก่กินเป็นผักสด ชาวบ้านนิยมนำมาดองน้ำเกลือเพื่อเก็บไว้รับประทานนานๆ
==========================...=============================
สะระแหน่
สรรพคุณด้านสมุนไพร ใบและต้นช่วยขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับผายลม ยาชงจากใบใช้ดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ใบและยอดอ่อน
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสด แกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ซุบหน่อไม้ หรือใส่ในต้มยำ
==========================...=============================
โสน
สรรพคุณด้านสมุนไพร แก้พิษร้อนใน ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อน ดอกตูม ดอกบาน
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดหรือลวกให้สุกก่อนก็ได้ ทอดกับไข่ นำไปแกงส้ม หรือทำขนมแบบขนมกล้วยก็ดี
==========================...=============================
หมุย
สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก แก้พิษงู ไข้ ผิวต้นรักษาบาดแผล แก้พิษงู
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อนและดอก
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดกับน้ำพริก แกงเผ็ดหรือขนมจีน
==========================...=============================
หูเสือ
สรรพคุณด้านสมุนไพร น้ำคั้นจากใบแก้ปวดหู พิษฝีในหู หูน้ำหนวก
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดและใบอ่อน
การปรุงอาหาร กินสดกับน้ำพริก
==========================...=============================
เหรียง
สรรพคุณด้านสมุนไพร เปลือกช่วยสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ดแก้ลมจุกเสียด บำรุงร่างกาย
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ เมล็ด
การปรุงอาหาร มีรสมัน นำเมล็ดมาเพาะให้แตกรากสั้นๆ คล้ายถั่วงอก กินกับน้ำพริก นำไปแกงหรือทำเป็นผักดองก็ได้จ๊ะ