วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น้ำเสาวรส(Passion fruit)


เขาบอกว่า ...เสาวรส (Passion fruit) หรือที่เราเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า กะทกรกฝรั่ง เป็นไม้ผล เนื้อในหรือรกที่หุ้มเมล็ดของผลเสาวรส ใช้รับประทานสดได้ โดยผ่าผลแล้วเติมน้ำตาลทรายเพียงเล็กน้อยก็สามารถรับประทานได้ทั้งเมล็ดเลย หรือจะนำไปทำเป็นแยมผลไม้ก็ได้ เปลือกและเนื้อส่วนนอก สามารถนำไปหมักทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักได้ น้ำคั้นจากเนื้อซึ่งส่วนนี้มีกลิ่นหอมและ มีกรดมาก ใช้ผสมเป็นเครื่องดื่ม หรือใช้ผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น เช่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำส้ม น้ำสัปปะรด น้ำพีช เป็นต้น โดยอัตราการผสมน้ำเสาวรส ประมาณ 5 หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติที่ดี ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เพราะนอกจากทำให้เครื่องดื่มมีกลิ่นและรสชาติที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารสูงอีกด้วย และน้ำเสาวรสยังสามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นและรสชาติของไอศกรีม ขนมเค้ก เยลลี่ เชอร์เบท พาย ลูกกวาด และไวน์ ส่วนผสม- เสาวรสสุก 2-3 ผล- น้ำต้มสุก 2 ถ้วย- น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย - เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะวิธีทำ1. นำผลเสาวรสสุกล้างให้สะอาด 2. ผ่า 2 ซีกและใช้ช้อนเอาเมล็ดและส่วนที่เป็นน้ำสีส้มออกให้หมดจากเนื้อผล3. เติมน้ำสุกและคั้นกรองด้วยกระชอนกับ ผ้าขาวบาง เพื่อแยกเอาเมล็ดและเส้นใยออก4. เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมรสตามชอบสูตร 2นำเสาวรสสดล้างให้สะอาดผ่าครึ่งและควักใส่ในพร้อมเมล็ด ปั่นให้ละเอียดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำตาลต้มกับน้ำ ใส่เกลือนิดหน่อย ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำเสาวรสลงผสมคนให้เข้ากัน แล้วบรรจุขวด ปิดผนึก อัตราส่วนเสาวรส 1 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม น้ำ 1.5 ลิตร เกลือครึ่งช้อนชา

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อันตรายของน้ำอัดลม


การดื่มน้ำอัดลมประเภท "โคลา" มากเกินไป ก่อให้เกิดความผิดปกติที่กล้ามเนื้อ จากสถิติพบว่า มีผู้ที่ชอบดื่มโคลามากกว่า 2 ลิตรต่อวันเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็เพิ่มปริมาณเครื่องดื่มที่วางขายในท้องตลาดมากขึ้น
ดร.โมเซส อาลีซาฟ จากมหาวิทยาลัยไอโอนนินา ประเทศกรีซ ผู้ศึกษา กล่าวว่า "โรคที่พบนั้นมีทั้งฟันผุ เบาหวาน กระดูกบาง กล้ามเนื้อและจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ทั้งยังมีโรค "ไฮโปคาลีเมีย" หรือระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำเกินไป"
ดร.อาลีซาฟยกตัวอย่างถึงกรณีผู้ป่วยหญิงอายุ 21 ปีและกำลังตั้งครรภ์ มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เธอมีอาการอ่อนเพลีย ไม่อยากกินอาหาร อาเจียน จากการสอบถามพบว่า ผู้ป่วยดื่มโคลาวันละ 3 ลิตรทุกๆ วัน เป็นเวลานาน 6 ปีแล้ว และพบโรค "ไฮโปคาลีเมีย" ด้วย สำหรับการรักษาทำโดยงดดื่มโคลาและให้รับประทานโพแทสเซียม ไม่นานผู้ป่วยกลับมีสุขภาพแข็งแรงดี
ในเคสอื่นที่ผู้ป่วยดื่มโคลาวันละ 2-9 ลิตร พบว่า ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อผิดปกติไปจนถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ถาวร
ดร.อาลีซาฟกล่าวต่อไปว่า "ปัจจุบันในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีการขายเครื่องดื่มแก้วใหญ่ ขวดใหญ่มากขึ้น เราควรต้องจับตาดูเพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค"
ส่วนสาเหตุที่โคลาทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายลดลงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ที่อาจเป็นไปได้คือ น้ำตาลในโคลาทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกไปมากเกินไป อีกทฤษฎีหนึ่งคือ กาเฟอีนในโคลาเป็นตัวขับโพแทสเซียม และแม้จะเป็นน้ำอัดลมที่ไม่มีกาเฟอีน แต่ก็ทำให้เกิดโรค "ไฮโปคาลีเมีย" ได้เช่นกัน เพราะน้ำตาลฟรุกโตสในน้ำอัดลมทำให้ท้องเสียได้
ทั้งนี้ เมื่อพ.ศ.2550 จำนวนน้ำอัดลมทั่วโลกที่บริโภคกันสูงถึง 552,000 ล้านลิตร หรือ 82.5 ลิตรต่อคน และอีก 3 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมน้ำอัดลมตั้งเป้าไว้ที่ 95 ลิตรต่อคน

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Jasmine



มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
มะลิถอดลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
มะลิซ้อนลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
มะลิทะเล
มะลิพวง
มะลิเลื้อย

Jasmine from
Old French Jasmine which is from the Arabic from Persian yasmin, i.e. "gift from God", is a genus of shrubs and vines in the olive family (Oleaceae), with about 200 species, native to tropical and warm temperate regions of the Old World. Most species grow as climbers on other plants or are trained in gardens on chicken wire, trellis gates or fences, or made to scramble through shrubs of open texture. The leaves can be either evergreen (green all year round) or deciduous (falling in autumn). Timmy knows Jasmine.

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทนครวัด(Angkor wat)


นครวัด

ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 พ.ศ. 2129ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา
ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
ขนาดและการก่อสร้าง

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง
ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี
หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก ราว 50 องศา แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด

รูปสลักและงานประติมากรรม

ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย
มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจามมีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจากสุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้

Angkor Wat (or Angkor Vat)

is a Hindu temple complex at Angkor, Cambodia, built for the king Suryavarman II in the early 12th century as his state temple and part of his capital city. As the best-preserved temple at the site, it is the only one to have remained a significant religious centre since its foundation — first Hindu, dedicated to the god Vishnu, then Buddhist. The temple is the epitome of the high classical style of Khmer architecture. It has become a symbol of Cambodia, appearing on its national flag, and it is the country's prime attraction for visitors.
Angkor Wat combines two basic plans of Khmer temple architecture: the temple mountain and the later galleried temple, based on early South Indian Hindu architecture, with key features such as the Jagati. It is designed to represent Mount Meru, home of the devas in Hindu mythology: within a moat and an outer wall 3.6 kilometres (2.2 mi) long are three rectangular galleries, each raised above the next. At the centre of the temple stands a quincunx of towers. Unlike most Angkorian temples, Angkor Wat is oriented to the west; scholars are divided as to the significance of this. The temple is admired for the grandeur and harmony of the architecture, its extensive bas-reliefs and for the numerous devatas (guardian spirits) adorning its walls.
The modern name, Angkor Wat, means "City Temple"; Angkor is a vernacular form of the word nokor which comes from the Sanskrit word nagara meaning capital or city. wat is the Khmer word for temple. Prior to this time the temple was known as Preah Pisnulok, after the posthumous title of its founder, Suryavarman II.