วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรคเครียด


ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

ชนิดของความเครียด

1.Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด

•เสียง
•อากาศเย็นหรือร้อน
•ชุมชนที่คนมากๆ
•ความกลัว
•ตกใจ
•หิวข้าว
•อันตราย
2.Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
•ความเครียดที่ทำงาน
•ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
•ความเครียดของแม่บ้าน
•ความเหงา
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดันหรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ

ผลเสียต่อสุขภาพ

ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์

โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด

โรคทางเดินอาหาร

โรคปวดศีรษะไมเกรน
โรคปวดหลัง

โรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหัวใจ

ติดสุรา

โรคภูมิแพ้

โรคหอบหืด

ภูมิคุ้มกันต่ำลง
เป็นหวัดง่าย

อุบัติเหตุขณะทำงาน
การฆ่าตัวตายและมะเร็ง

การฆ่าตัวตายและมะเร็ง


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากความเครียด
คุณมีความเครียดหรือไม่
ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
อาการแสดงทางร่างกาย
มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง

อาการแสดงทางด้านจิตใจ
วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

อาการแสดงทางด้านอารมณ์
โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง

อาการแสดงทางพฤติกรรม
รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว


การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมาก

หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้

•อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร

•มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ

•วิตกกังวล

•มีปัญหาเรื่องการนอน

•ไม่มีความสุขกับชีวิต

•เป็นโรคซึมเศร้า

ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ

1.ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมากจะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา

2.หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ

3.ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน

4.ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด

5.หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์

6.การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotonin เพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ

7.หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า

8.ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี

หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเครียด
•ความเครียดเหมือนกันทุกคนหรือไม่ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละคนไม่เหมือนกันและการตอบสนองต่อความเครียดก็แตกต่างในแต่ละคน•ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีจริงหรือไม่ ความเครียดเปรียบเหมือนสายกีตาร์ ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปเสียก็ไม่ไพเราะ เช่นกันเครียดมากก็มีผลต่อสุขภาพเครียดพอดีจะช่วยสร้างผลผลิต และความสุข•จริงหรือไม่ที่ความเครียดมีอยู่ทุกแห่งคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ แม้ว่าจะมีความเครียดทุกแห่งแต่คุณสามารถวางแผนที่จะจัดการกับงาน ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงานเพื่อลดความเครียด•จริงหรือไม่ที่ไม่มีอาการคือไม่มีความเครียด ไม่จริงเนื่องจากอาจจะมีความเครียดโดยที่ไม่มีอาการก็ได ้และความเครียดจะสะสมจนเกินอาการ•ควรให้ความสนใจกับความเครียดที่มีอาการมากๆใช่หรือไม่ เมื่อเริ่มเกิดอาการความเครียดแม้ไม่มากก็ต้องให้ความสนใจ เช่นอาการปวดศีรษะ ปวดท้องเพราะอาการเพียงเล็กน้อยจะเตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเครียด•ความเครียดคือโรคจิตใช่หรือไม่ ไม่ใช่เนื่องจากโรคจิตจะมีการแตกแยกของความคิด บุคลิคเปลี่ยนไปไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ•ขณะที่มีความเครียดคุณสามารถทำงานได้อีก แต่คุณต้องจัดลำดับก่อนหลัง และความสำคัญของงาน•ไม่เชื่อว่าการเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียด การเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียดนั้น•ความเครียดไม่ใช่ปัญหาเพราะเพียงแค่สูบบุหรี่ความเครียดก็หายไป การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะทำให้ลืมปัญหาเท่านั้นนอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วยเมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์
•เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ•เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุ และไม่สามารถควบคุม•เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่น การนอน การรับประทานอาหาร งานที่ทำ ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของไวน์


ประวัติความเป็นมาของไวน์

ไวน์มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 19 เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์คนดังของโลกพบว่า "ยีสต์" หรือเชื้อราขนาดเล็ก เป็นตัวเปลี่ยนน้ำตาลในผลไม้เป็นแอลกอฮอล์ โดยอาศัยปฏิกิริยาที่ค่อนข้างซับซ้อน การหมักน้ำองุ่นให้กลายเป็นเหล้าเป็นไวน์นั้นเป็นวิธีตามธรรมชาติ โดยยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติของผิวองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์และฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้อาจเติมยีสต์เข้าไปอีก เพื่อช่วยกระบวนการหมัก ไวน์แดงทำมาจากองุ่นแดง ที่หมักเชื้ออุณหภูมินานประมาณ 2 สัปดาห์ ด้วยอุณหภูมิ 21-29 องศาเซลเซียส ส่วนไวน์ขาวทำมาจากองุ่นเขียวขาว หมักเชื้อที่อุณหภูมิ 10-15 เซลเซียส นานประมาณ 3-6 สัปดาห์
ขั้นตอนคร่าวๆที่ผู้ผลิตไวน์ทำกันก็คือ สกัดน้ำออกมาจากองุ่นก่อนและใส่ถังหมัก เมื่อหมักและกรองตะกอนจากเหล้าองุ่นแล้ว จึงนำเก็บไว้แล้วค่อยบรรจุขวดทีหลัง
รสชาติของไวน์ที่ต่างกันนั้น นอกจากจะแตกต่างที่ตัวองุ่นแล้ว ยังขึ้นกับขั้นตอนและเวลาของการหมักอีกด้วย
ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่างๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้

ไวน์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
1) STILL WINE / TABLE WINE - ไวน์ไม่มีฟอง
แอลกอฮอล์ประมาณ 8 - 14 ดีกรี

2) SPARKLING WINE - ไวน์มีฟอง
แรงแอลกอฮอล์ประมาณ 8 - 14 ดีกรี

3) FORTIFIED WINE - ฟอร์ติไฟด์ไวน์
แรงแอลกอฮอล์ประมาณ 17 - 22 ดีกรี