วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดอกเลา


ดอกเลา คำเปรียบเทียบคนล้านนา ผะหญาการสังเกตดอกไม้ธรรมชาติ

สีผมของคนเรามันเปลี่ยนแปรไปตามธรรมชาติจากสีดำดกเข้มขำ หลายๆคนเปลี่ยนไปเป็นสีดอกเลา ดอกเลามันเป็นอย่างไร เด็กๆสมัยนี้เคยเห็นเคยรู้กันบ้างไหม หรือแม้แต่ผู้หย่งผู้ใหญ่บางคนยังไม่เคยเห็นดอกเลาแต่ก็ว่าตามเขาได้สบายปาก แถมผมบนหัวตัวเองยังเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีดอกเลาให้เขาได้เห็น

วันนี้ได้นำกล้องถ่ายภาพคู่ชีพออกจากบ้านไปเที่ยวตามลำน้ำ เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในลุ่มน้ำปิงอย่างหลากหลาย บ้างทอดแห บ้างขุดทรายจากพื้นน้ำขึ้นใส่ในลำเรือ แต่ที่แน่ๆ สองฟากฝั่งมีดอกเลาสีขาวเต็มไปหมด ทำให้นึกถึงคำกล่าวของคนล้านนาที่ว่า "ผมขาวเหมือนดอกเลา"

ลุงอิ่นแสง ที่เป็นชาวสวนใกล้ลำน้ำปิงได้เล่าว่า "ต้นอ้อ ต้นแขม หรือต้นเลามันขึ้นมากมายตามฝั่งลำน้ำแม่ปิง ที่จริงไม้พวกนี้มันมีประโยชน์มากมายต่อฝั่งน้ำ เพราะมันมีรากเหง้าที่ลึกและดกหนา แผ่กระจายไปกว้างจับเกาะตามหน้าดินซึ่งเป็นฝั่งน้ำให้เนื้อดินติดกันแน่น ไม่พังไปกับสายน้ำได้ง่ายๆ"

พูดถึงดอกเลาหรือดอกแขมมักจะออกดอกให้ผู้คนได้เห็นเมื่อยามเข้าสู่หน้าหนาว ขณะที่กระแสน้ำปิงเริ่มลดลาฝั่ง ยามที่ลมหนาวโชยกระแสพาเอาความหนาวเย็นมาสู่ผู้คน ดอกเลาเริ่มแทงยอดอวดสีขาวบริสุทธิ์ให้ผู้คนได้รับรู้ว่าฤดูกาลทำสวนริมฝั่งน้ำเริ่มต้นได้แล้ว

เมื่อเห็นดอกเลา ชาวสวนสองฝั่งปิงจะลงมือถากถางขุดแต่งพื้นดินให้เป็นร่องเป็นแปลงเพื่อปลูกพืชสวนตามปกติ ในยามนี้เองเราจะเห็นกลุ่มควันที่เผาไหม้จากกอหญ้า กอพืชที่ไม่ต้องการลอยเคว้งคว้างผ่านปลายยอดดอกเลาดูสวยงามยิ่งนัก ในขณะที่มองไปบนท้องฟ้าเห็นสีครามกว้างไกล

บางครั้งสายลมหนาวพลิ้วพัดจอยพาความเย็นมาสัมผัสผิวกายทำให้เกิดความสุขอย่างสมบูรณ์อารมณ์ในขณะที่อยู่ริมสายน้ำ สายลมพลิ้วคราวครั้งหนึ่งอาจพัดเอาละอองเกสร กลีบดอกเลาปลิวไปตามสายลมพลัดพรากจากถิ่นที่เคยอยู่ไปตกหล่นพลัดถิ่นในที่ไกล แต่ดอกเลายังคงสีขาวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมันอย่างเข้มข้นทำให้ผู้คนต่างใช้ความสังเกตสีของดอกเลาเอามาเปรียบเทียบกับสีของเส้นผมจากสีดำเป็นสีขาวตามอายุขัยวัยที่แปรเปลี่ยนเช่นกัน

ผมสีดอกเลาจึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนผู้คนให้พิจารณาตนเอง พิจารณาสังขาร วัยอันเปลี่ยนไปตามธรรมชาติที่ไม่สามารถยับยั้งไว้ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า อันที่อยากให้มันหยุดมันก็ไม่หยุด นั่นเอง

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จำนวนประชากรโลก~

เผยประชากรโลกทะลุ 7,000 ล้านคน ในสิ้นเดือนต.ค.นี้ ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย ตามด้วยแอฟริกา ขณะที่อีก 71 ปีข้างหน้า ทยานแตะ 10,000 คน...

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 24 ต.ค. ว่า อ้างจากการเปิดเผยของ อลิอันซ์ กรุ๊ป กลุ่มบริษัทประกันภัยชื่อดัง ระบุคาดว่า จำนวนประชากรโลก จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 7,000 ล้านคน ในสิ้นเดือนต.ค.นี้ มากกว่า 100 ปีที่แล้วถึง 4 เท่า สืบเนื่องจากปัจจัยหลัก ๆ 2 ประการ คือ การพัฒนาสุขอนามัยและโภชนาการที่ดียิ่งขึ้น

โดยทวีปเอเชีย มีประชากรมากที่สุด 4,200 ล้านคน ตามด้วย แอฟริกา 1,000 ล้านคน และอเมริกาใต้ 600 ล้านคน หากจำแนกเป็นประเทศแล้ว จีนจะมีประชากรมากที่สุด 1,300 ล้านคน อันดับ 2 คือ อินเดีย 1,200 ล้านคน เมื่อคิดตามระดับอำนาจทางเศรษฐกิจ ประชาชนจำนวน 3 ใน 4 จะอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่


ทั้งนี้ รายงานฉบับเดียวกัน คาดการณ์ล่วงหน้าว่า ประชากรโลกจะพุ่งแตะ 8,000 ล้านคน ระหว่างช่วงปี 2020-2030 และในปี 2082 จะมีจำนวนรวมถึง 10,000 ล้านคน ที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Christmas Eve


Christmas Eve is the day that, according to modern calendars, contains the evening, or first evening, of Christmas, a widely celebrated festival commemorating the birth of Jesus of Nazareth. It is a culturally significant celebration for most of the Western world and is widely observed as a full or partial holiday in anticipation of Christmas.
The reason why Christmas starts on Christmas Eve is that the traditional Christian liturgical day starts at sunset, an inheritance from Jewish tradition and based in the story of creation in Genesis: "And there was evening, and there was morning – the first day." This liturgical day is followed for all days in the Eastern rite and the custom of beginning Christmas celebration (as well as Sunday and the other major festivals) in the preceding evening is preserved in western Churches that have altered the liturgical day to start at midnight, for example the Roman Catholic Church. Many churches still ring their church bells and hold prayers in the evening before holidays; for example the Nordic Lutheran churches. In some languages, such as the Scandinavian, Christmas Eve is simply referred to as "Christmas Evening".
Since Christian tradition holds that Jesus was born at night (based in Luke 2:6-8) Midnight mass is celebrated on Christmas Eve, traditionally at midnight, in memory of his birth. The idea of Jesus being born at night is reflected in the fact that Christmas Eve is referred to as "Heilige Nacht" ("Holy Night") in German, "Nochebuena" ("the Good Night") in Spanish and similarly in other expressions of Christmas spirituality, such as the song "Silent Night, Holy Night".
Non-religious people, or people who are not formal with definitions, may see the whole day as a day of celebration or as just the day before Christmas. Many people all over the world celebrate Christmas without being religious or even of a Christian background. The emphasis of celebration on Christmas Eve or Christmas Day varies from country to country and region to region (see below).
In Western culture, Christmas Eve is mostly celebrated on December 24. However, the Coptic, Serbian, Russian, Macedonian, Georgian, and Ukrainian Orthodox Churches as well as the Greek Orthodox Church of Jerusalem, use the Julian calendar, which is currently 13 days behind the Gregorian calendar, so Christmas Eve for the adherents of those churches coincides with January 6 of the following year in the Gregorian calendar.